สำนักงานกฎหมาย

นพนภัส

ทนายความเชียงใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้น จะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ
(๑) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
(๒) ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
(๓) ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอ และพยานอีกอย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
(๔) เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้ว ให้กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น

 

วรรคสอง การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2518 พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2518 พินัยกรรมแบบเอกสารลับนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1660 หาได้บังคับให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมไม่แต่เมื่อได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660 บัญญัติไว้ทุกประการแล้ว ก็เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ใช้บังคับได้